เครือข่ายคลังสมองด้านนโยบายของบิมสเทค (BNPTT) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กรอบความร่วมมือ BIMSTEC (Bay of Bengal Initiative Multi–Sectoral Technical and Economic Cooperation) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ เดิมมีสมาชิกทั้งสิ้น ๔ ประเทศ ได้แก่ ไทย อินเดีย บังคลาเทศ และศรีลังกา ต่อมาประเทศพม่าได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ และในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ประเทศเนปาลและภูฏานได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย ทำให้ในปัจจุบัน BIMSTEC มีสมาชิกทั้งสิ้น ๗ ประเทศ
บทบาทหลักของ BIMSTEC คือการประสานความร่วมมือระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศในเอเชียใต้ ในด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การคมนาคมและการสื่อสาร ภายใต้กรอบนโยบาย Look West ของไทย และนโยบาย Look East ของกลุ่มประเทศในเอเชียใต้ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนและช่วยเหลือในด้านองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี อาทิ การจัดฝึกอบรม และงานด้านการวิจัย เป็นต้น
ในการประชุม BIMSTEC Summit ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑ นั้น ได้จัดตั้งเครือข่ายคลังสมองด้านนโยบายของบิมสเทค (BNPTT: BIMSTEC Network of Policy Think Tanks) ขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อเป็นเครือข่ายประสานงานด้านวิชาการของ BIMSTEC โดยกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ทาบทามศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานหลักของ BNPTT เห็นได้จากศักยภาพของบุคลากรและนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญและได้รับการยอมรับในวงกว้าง ทั้งนี้ ได้มีการจัดประชุม BNPTT ครั้งที่ ๒ ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยวาระการประชุมคือ การหารือในประเด็นปัญหาที่มีอยู่ในขณะนี้ และการเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่าง ๆ
ทั้งนี้ ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่เป็นหน่วยงานเครือข่ายของ BNPTT ได้จัดกิจกรรมและการบรรยายของ BIMSTEC โดยมีรายละเอียดแต่ละครั้ง ดังนี้