สารจากอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประเทศไทยกับประเทศอินเดียเริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ แต่หากมองจากมิติศาสนา วัฒนธรรม ภาษา ฯลฯ แล้ว อาจกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศนับย้อนกลับไปในอดีตกาลได้อย่างยาวนาน และคงไม่ผิดด้วยหากจะกล่าวว่า อัตลักษณ์ของไทยในหลายแง่ก็มีความเป็นอินเดียอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
ในปัจจุบัน โดยเฉพาะหลังปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทย/อาเซียน–อินเดียได้ดำเนินมาสู่ความใกล้ชิดมากขึ้น และยังได้ขยายขอบเขตครอบคลุมปริมณฑลด้านต่างๆ มากขึ้นด้วย รวมถึงด้านเศรษฐกิจ การศึกษา และความมั่นคง
ผมรู้สึกยินดีมากที่ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศอจ.) ได้พยายามสุดความสามารถเพื่อทำให้จุฬาฯ เป็นแหล่งความรู้ด้านอินเดียศึกษาในแขนงวิทยาต่างๆ หลายกิจกรรมของ ศอจ. ที่ผ่านมานั้น เปิดโอกาสให้ประชาคมทั้งในและนอกรั้วจุฬาฯ มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับอินเดียนานัปการ
บัดนี้ ศอจ. ได้สร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของศูนย์ และเพื่อขยายขอบเขตการเรียนรู้เกี่ยวกับอินเดีย และความสัมพันธ์ไทย/อาเซียน–อินเดีย อันจะทำให้ ศอจ. เป็นแหล่งข้อมูลและความรู้ของสาธารณชนสืบไป
ผมเชื่อมั่นว่า เว็บไซต์นี้จะมีประโยชน์แก่ทุกคน โดยเฉพาะผู้สนใจด้านอินเดียศึกษาและความสัมพันธ์ไทย/อาเซียน-อินเดีย และเชื่อด้วยว่า ผู้ใช้เว็บไซต์นี้จะมีบทบาทสำคัญช่วยพัฒนาเว็บไซต์นี้ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยให้ข้อคิดและข้อเสนอแนะเพื่อเรียนรู้ไปด้วยกัน
ด้วยความเคารพ
ศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์

สารจากผู้อำนวยการ ศอจ.

หากมองเพียงระดับความสัมพันธ์ทางการทูต ความสัมพันธ์ไทยกับอินเดียที่เริ่มสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ ก็ต้องนับว่ามีอายุไม่นานนัก เมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศที่ไทยเจริญความสัมพันธ์ด้วย ทว่าเราย่อมมิอาจละเว้นที่จะพิจารณาแง่มุมทางวัฒนธรรม ภาษา ปรัชญา ศาสนา ฯลฯ ของอินเดียที่หยั่งรากอยู่ในวิถีชีวิตไทยมายาวนาน และผสมกลมกลืนกับอัตลักษณ์ความเป็นไทยอย่างมิอาจแยกขาดจากกันได้ เช่น ศาสนาพุทธที่ชาวไทยส่วนใหญ่นับถือนั้น ถือกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดูที่มีต้นตอจากอนุทวีปอินเดียยังปรากฏให้เห็นในวัฒนธรรมไทยอย่างชัดแจ้ง และแม้แต่คำศัพท์ในภาษาไทยที่ผมใช้เขียนสารนี้ ก็มีรากเหง้ามาจากภาษาบาลีสันสกฤตเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น คงไม่ผิดอีกเช่นกัน ถ้าจะกล่าวว่า อินเดียดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ยังเป็นแหล่งอารยธรรมบ่งบอกความเป็นไทยได้มากพอสมควร
ช่างน่าเสียดายที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินเดียต้องชะงักงันเนื่องด้วยต่างประเทศเข้ามายึดครองอินเดียเป็นเวลานาน แม้อินเดียจะได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ๒๔๙๐ แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองระดับโลกว่าด้วยสงครามเย็น จึงทำให้ทั้งสองมิอาจดำเนินความสัมพันธ์ได้อย่างแน่นแฟ้น ครั้นเมื่อสงครามเย็นยุติลงในปี ๒๕๓๔ บริบทเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศก็เปลี่ยนไป ทำให้ทั้งสองประเทศหันมากระชับมิตรภาพระหว่างกันได้ในที่สุด
ปัจจุบัน โดยเฉพาะหลังปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นมา สัมพันธภาพระหว่างทั้งสองประเทศได้เข้าสู่ระดับที่เรียกได้ว่าแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ และได้ขยายขอบเขตครอบคลุมปริมณฑลเศรษฐกิจ ความมั่นคง และการศึกษาด้วย ทว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองจะมองในระดับทวิภาคีแต่ลำพังมิได้ เพราะข้อเท็จจริงในวันนี้บ่งชี้ด้วยว่า อินเดียกับอาเซียนให้ความสำคัญแก่กันมากเป็นพิเศษ
ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศอจ.) ผมมองเห็นปัญหาที่ว่า แม้สังคมไทยจะได้รับอิทธิพลจากอินเดียมาเนิ่นนาน ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่เรายังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับอินเดียในหลายมิติ จึงเห็นว่า การมีเว็บไซต์ที่ดีนั้น นอกจากจะช่วยประชาสัมพันธ์กิจกรรมของ ศอจ. แล้ว ยังจะช่วยให้สาธารณชนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับอินเดีย ทั้งอินเดียโบราณและอินเดียร่วมสมัยในมิติต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้งเท่าที่จะทำได้ด้วย และผมยังเชื่อมั่นด้วยว่า ข้อมูลและความรู้เหล่านี้จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดีย–ไทย/อาเซียน พัฒนาไปอย่างยั่งยืน
ท้ายสุดนี้ ผมใคร่ขอให้ผู้ใช้เว็บไซต์นี้ช่วยติชม เพื่อพัฒนาเว็บไซต์นี้ให้เป็นแหล่งข้อมูลและความรู้ด้านอินเดียศึกษาที่ดีที่สุดในสังคมไทย
ด้วยประณาม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ โหราชัยกุล

ประวัติความเป็นมาของ ศอจ.
ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศอจ.) จัดตั้งตามมติสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ ๗๓๒ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ในวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเจิมป้ายและเปิด ศอจ. อย่างเป็นทางการ
ศอจ. มีวัตถุประสงค์หลัก ๓ ประการ ได้แก่
- เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการด้านอินเดียศึกษา
- พัฒนาเครือข่ายทางวิชาการด้านอินเดียศึกษา
- ส่งเสริมความสัมพันธ์อันยั่งยืนระหว่างประชาชนไทยกับอินเดีย
ศอจ. มีภารกิจหลัก ๒ ประการ ได้แก่
- จัดบรรยายสาธารณะและกิจกรรมทางวัฒนธรรม ตลอดจนผลิตสื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ
- อำนวยความสะดวกในการศึกษา – วิจัย ของนักวิชาการและนิสิต
แผนผังองค์กรของ ศอจ.
ศอจ. เป็นหน่วยงานในกำกับของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และมีรองอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาควบคุมการทำงานของ ศอจ. ทั้งหมด
เพื่อให้ ศอจ. มีความยืดหยุ่นและไม่ทำงานตามลำพัง (ดูหน่วยงานที่ ศอจ. เคยร่วมงานด้วย) การริเริ่มกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับอินเดียกระทำได้ทั้งหมด ๓ วิธี ได้แก่
- หน่วยงานในจุฬาฯ และ/หรือ หน่วยงานนอกจุฬาฯ เป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมโดยขอความร่วมมือมายัง ศอจ.
- อธิการบดี หรือรองอธิการบดีมีคำสั่งตรงมายัง ศอจ. เพื่อให้ริเริ่มกิจกรรม
- ศอจ. เป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมโดยประสานงานกับหน่วยงานในจุฬาฯ และ/หรือ หน่วยงานนอกจุฬาฯ
มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดสรรงบประมาณรายปีให้ ศอจ. เพื่อใช้จ่ายและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามกฎและระเบียบของมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกิจกรรมหลายประเภทต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ศอจ. จึงยึดหลักใช้จ่ายร่วมกันระหว่าง ศอจ. และหน่วยงานร่วมจัดกิจกรรมทั้งภายในและนอกจุฬาฯ
เจ้าหน้าที่ของ ศอจ.
-
สุรัตน์ โหราชัยกุล
ผู้อำนวยการ ศอจ.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์
ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ศอจ. ตั้งแต่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ – ปัจจุบัน
อีเมล : surat.h@chula.ac.th
-
ณัฐ วัชรคิรินทร์
เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ ศอจ.
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ – ปัจจุบัน
อีเมล : natha.v@chula.ac.th
-
พรศิริ ประทิน
เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดการ ศอจ.
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๑ – ปัจจุบัน
อีเมล : Pornsiri.p@chula.ac.th
-
ชื่อและโลโก้ ศอจ.
ชื่อ ศอจ.
ชื่อเต็มภาษาไทย : ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อย่อภาษาไทย : ศอจ.
ชื่อเต็มภาษาฮินดี : चूड़ालंकरण विश्वविद्यालय का भारतीय अध्ययन केंद्र
ชื่อย่อภาษาฮินดี : चू.भा.कें.
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Indian Studies Center of Chulalongkorn University
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : ISC
โลโก้ ศอจ.
ศอจ. มีโลโก้ทั้งหมด ๓ แบบ แต่ละแบบประกอบด้วยตราสัญลักษณ์พระเกี้ยว และชื่อ ศอจ. เป็นภาษาไทย ฮินดี และอังกฤษตามลำดับ ศอจ. จะใช้โลโก้แบบที่ ๑ (ไม่มีกรอบ) แบบที่ ๒ (มีกรอบ) หรือแบบที่ ๓ (วงกลม) เท่านั้น
ศอจ. นิยมใช้โลโก้แบบที่ ๑ และ ๒ ในป้ายประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ และใช้แบบที่ ๓ เป็นภาพ Profile เฟสบุ๊คของ ศอจ. ซึ่งมีชื่อว่า Indian Studies Center of Chulalongkorn University
แบบที่ ๓
ที่อยู่และแผนที่ ศอจ.
ที่อยู่ ศอจ.
ศูนย์อินเดียศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น ๑๗ อาคารเฉลิมราชกุมารี ๖๐ พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐
โทรศัพท์ : ๐ ๒๒๑๘ ๓๙๔๕
โทรสาร : ๐ ๒๒๑๘ ๓๙๔๖
อีเมล : isc@chula.ac.th
Indian Studies Center of Chulalongkorn University
17th Floor, Chaloem Rajakumari 60 Building, Chulalongkorn University
Phyathai Road, Wangmai, Patumwan, Bangkok 10330, Thailand
Telephone : +66 2218 3945
Facsimile : +66 2218 3946
Email : isc@chula.ac.th
แผนที่ของ ศอจ.
สำหรับผู้ใช้ Google Maps ให้ค้นหาโดยพิมพ์คำว่า ‘อาคารเฉลิมราชกุมารี ๖๐ พรรษา’ หรือ ‘Chaloem Raja Kumari 60 Building’
หรือดูแผนที่ด้านล่าง
หน่วยงานและโครงการที่ ศอจ. เคยร่วมงาน
ภายในประเทศ (ในจุฬาฯ)
- คณะนิเทศศาสตร์
- คณะรัฐศาสตร์
- เครือข่ายจุฬานานาชาติ
- ภาค/สาขาวิชาการสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์
- ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์
- ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์
- ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์
- ภาควิชาศิลปะการละคร คณะอักษรศาสตร์
- ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง
- ศูนย์อาเซียนศึกษา
- สถาบันเอเชียศึกษา
- สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต/สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ คณะอักษรศาสตร์
- สำนักงานศิลปะและวัฒนธรรม
ภายในประเทศ (นอกจุฬาฯ)
- กระทรวงการต่างประเทศ
- กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
- กลุ่มปฏิบัติงานท้องถิ่นไร้พรมแดน
- กลุ่มปินากิน
- คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เครือข่ายตลาดสีเขียว
- โครงการนิวสปิริท
- โครงการสู่เอเชียอินทรีย์
- นิตยสารไฟน์อาร์ท
- บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
- บริษัทฟลอเลส
- บริษัทสวนเงินมีมา
- มหาวิทยาลัยศิลปากร
- มิราเคิล แชนแนล (Miracle Channel)
- มูลนิธิเสฐียรโกเศศ–นาคะประทีป
- มูลนิธิฮารนามซิงห์ ฮารบันส์กอร์ สัจจเทพ
- โรงแรมแรมแบรนดท์กรุงเทพ
- วัดเทพมณเฑียร (ฮินดูสมาช) กรุงเทพฯ
- สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย
- สมาคมการค้าเพชรและพลอยอินเดียน–ไทย
- สมาคมรามกฤษณะ เวทานตะ (ประเทศไทย)
- สมาคมวิศวะฮินดูปารีชาด
- สมาคมสยามสินธุ์
- สมาคมอินเดียแห่งประเทศไทย
- สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
- สำนักอิสระว่าด้วยความอยู่เย็นเป็นสุข : การศึกษาและวิจัย
- หอการค้าอินเดีย–ไทย
- อวานี เอเทรียม กรุงเทพฯ
- อารยสมาช กรุงเทพฯ
- อินเดียนโซเชียลคลับ
ต่างประเทศ (เกาหลีใต้)
- Hankuk University of Foreign Studies
ต่างประเทศ (ญี่ปุ่น)
- Asian Public Intellectuals
- Kyoto Women‘s University
- University of Tokyo
- Hiroshima Shudo University
- National Museum of Ethnology
ต่างประเทศ (บังคลาเทศ)
- BIMSTEC Secretariat
- Bangladesh Embassy, Bangkok
ต่างประเทศ (เบลเยียม)
- Museum of Sacred Art
ต่างประเทศ (เวียดนาม)
- Vietnam Academy of Social Sciences
ต่างประเทศ (สิงคโปร์)
- National University of Sigapore
ต่างประเทศ (อินเดีย)
- Aditya Birla Group
- Bangkok Scoop
- Divine Yoga
- Embassy of India, Bangkok
- Galaxy
- Guptaji
- Indian Council for Cultural Relations
- Indorama Ventures
- Jet Airways
- Kirloskar Brothers (Thailand) Limited
- Saraff
- Tata Motors
- Tata Steel (Thailand)
- Teamwork
- The Arya Vaidya Pharmacy
- Unique Group
- University of Mysore
- Visva Bharati (Santiniketan)
- ZeeTV
นักวิชาการอาวุโสประจำ ศอจ.
(( เนื้อหาอยู่ระหว่างการจัดทำ ))
รางวัลที่ ศอจ. ได้รับ
- รางวัลชนะเลิศ การประกวดหนังสือดีเด่น “เซเว่นบุ๊คอวอร์ด” ครั้งที่ ๑๑ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ประเภทสารคดี เรื่อง พุทธโคดม : บทวิเคราะห์เชิงรัฐศาสตร์ว่าด้วยพุทธประวัติในบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมอินเดียสมัยพุทธกาล จัดโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
- หนังสือแนะนำ การประกวดหนังสือดีเด่น “เซเว่นบุ๊คอวอร์ด” ครั้งที่ ๑๒ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ประเภทสารคดี (ทั่วไป) เรื่อง สัมพันธ์สยามในนามภารต บทบาทของรพินทรนาถ ฐากูร สวามีสัตยานันทปุรี และ สุภาส จันทร โบส ในสายสัมพันธ์ไทย – อินเดีย จัดโดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
ฝึกงานกับ ศอจ.
รายละเอียดผู้ฝึกงาน /Details of Interns
(๑) นางสาวจุฑาพร สันตยากร
นิสิตภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ รหัสประจำตัวนิสิต ๕๒๔๑๐๐๕๕๒๔
ระยะเวลาฝึกงาน : ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
(1) Miss Chutaporn Suntayakorn
Student, Department of Government, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University,
Student No: 5241005524
Duration of Internship: 1 April 2012 – 31 July 2012
(๒) นายธีรวีร์ กุระเดชภพ
นิสิตภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ รหัสประจำตัวนิสิต ๕๒๔๑๒๒๗๕๒๔
ระยะเวลาฝึกงาน : ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
(2) Mr. Theerawee Guradetphop
Student, Department of International Relations, Faculty of Political Science,
Chulalongkorn University, Student No. 5241227524
Duration of Internship: 1 April 2012 – 31 July 2012
(๓) นายปิยณัฐ สร้อยคำ
อดีตนิสิตภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
รหัสประจำตัวนิสิต ๕๐๔๑๒๒๔๔๒๔
และอดีตนักศึกษาระดับมหาบัณฑิต รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยออสมาเนีย อินเดีย
ระยะเวลาฝึกงาน : ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๓๑ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
(3) Mr. Piyanat Soikham
Former student, Department of International Relations, Faculty of Political Science,
Chulalongkorn University, Student No. 5041224424, and former student of MA Political Science, Osmania University, India
Duration of Internship: 1 May 2014 – 31 July 2014
(๔) นายสุเมธ กุลเลิศประเสริฐ
นิสิตภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร รหัสประจำตัวนิสิต ๕๕๒๔๓๘๑๕
ระยะเวลาฝึกงาน : ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙
(4) Mr. Sumeth Kullertprasert
Student, Department of History, Faculty of Social Science,
Naresuan University, Student No. 55243815
Duration of internship: 4 January 2016 – 22 April 2016
(๕) นางสาวอาทิมา ทาบโลกา
อดีตนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ รหัสประจำตัวนิสิต ๕๕๔๖๒๗๘๗๓๔
ระยะเวลาฝึกงาน : ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
(5) Miss Artima Thaploka
Former student, Faculty of Law, Chulalongkorn University, Student No. 5546278734
Duration of Internship: 8 August 2016 – 31 May 2017
(๖) นางสาวกุลธิดา นิลแสง
นักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
รหัสประจำตัวนักศึกษา ๕๗๑๑๔๐๖๗๑๙
ระยะเวลาฝึกงาน : ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
(6) Miss Kulthida Ninsaeng
Student, Department of Accountancy, Faculty of Management Science,
Chandrakasem Rajabhat University, student No. 5711406719
Duration of Internship: 24 May 2017 – 28 July 2017
ติดต่อ ศอจ.
ติชมหรือคำแนะนำ
ศอจ. ยินดีรับคำติชมหรือข้อเสนอแนะใด ๆ อันจะช่วยให้ ศอจ. พัฒนาและมีประโยชน์ต่อสังคมมากขึ้น ท่านสามารถติดต่อเราผ่าน ๔ ช่องทาง ได้แก่
Email : isc@chula.ac.th
Facebook : Indian Studies Center of Chulalongkorn University
โทรสาร : ๐ ๒๒๑๘ ๓๙๔๖
โทรศัพท์ : ๐ ๒๒๑๘ ๓๙๔๕
ประสงค์จะรับอีเมลเกี่ยวกับกิจกรรมของเรา
หากท่านประสงค์จะรับข่าวเกี่ยวกับกิจกรรมของเรา โปรดส่งข้อความมาหาเราที่ isc@chula.ac.th โปรดระบุ
- ชื่อและนามสกุล
- ที่อยู่อีเมล
- องค์กรที่ท่านสังกัด (ในกรณีที่ท่านไม่สังกัดองค์กรใด ๆ) ให้เขียนคำว่า ‘อิสระ’
- เบอร์โทรศัพท์มือถือ หรือเบอร์โทรศัพท์อื่น ๆ ที่ติดต่อได้
(หมายเหตุ : เราจะติดต่อท่านทางโทรศัพท์ในกรณีเดียวเท่านั้น นั่นคือ กรณีกิจกรรมที่ท่านจะเข้าร่วมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน)